ทุนสำรองระหว่างประเทศของประเทศในอาเซียน

                  ทุนสำรองระหว่างประเทศ (Foreign exchange reserves) คือ สินทรัพย์ต่างประเทศที่ถือครองหรืออยู่ภายใต้การควบคุมโดยธนาคารกลางของแต่ ละประเทศและสามารถนำออกมาใช้ประโยชน์ได้ทันทีเมื่อจำเป็น เช่น การชดเชยการขาดดุลการชำระเงินหรือใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการดำเนินนโยบาย อัตราแลกเปลี่ยน การแทรกแซงค่าเงินและใช้หนุนหลังการพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้งาน

                  ทุนสำรองระหว่างประเทศนั้นประกอบด้วย เงินตราต่างประเทศทุกสกุล (มักนิยมสำรองเป็นเงินตราที่มีการใช้บ่อยเช่น เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา เงินยูโร เงินปอนด์อังกฤษ เงินเยนและเงินหยวนเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีทองคำ พันธบัตรรัฐบาล สิทธิพิเศษถอนเงิน (Special Drawing Rights : SDR) และสินทรัพย์ส่งสมทบกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น

                  หน้าที่สำคัญของทุนสำรองระหว่างประเทศคือ การรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ เสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อประเทศ แทรกแซงค่าเงินเพื่อลดความผันผวนและรักษาสมดุลของเศรษฐกิจ ไม่ให้มีความผันผวนมากเกินไป รับมือความผันจากต่างประเทศและการโจมตีค่าเงิน ในบางประเทศมีการนำทุนสำรองระหว่างประเทศหรือเงินตราต่างประเทศส่วนที่เกิน ต่อความจำเป็นไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อให้เกิดดอกผลเพิ่มขึ้น เช่นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของต่างประเทศ การลงทุนในทองคำ เป็นต้น แต่จะเลือกลงทุนในตลาดที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด ถึงแม้ผลตอบแทนจะไม่สูงมากนักก็ตาม

                  หน้าที่ที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งของทุนสำรองระหว่างประเทศคือ การใช้ค้ำประกันยอดการพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้งาน กล่าวคือ ยิ่งมีทุนสำรองมากก็จะสามารถพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้งานได้มาก ซึ่งในแต่ละประเทศมีหลักเกณฑ์แตกต่างกันออกไป บางประเทศก็พิมพ์ธนบัตรออกมาเท่ากับปริมาณทุนสำรองที่มี ในขณะที่ประเทศไทยใช้หลัก 60% ซึ่งหมายถึงพิมพ์ธนบัตรออกมาเป็นปริมาณไม่เกินร้อยละ 60 ของทุนสำรองระหว่างประเทศ เนื่องจากการพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้งานโดยไม่มีหลักประกันอะไรเลยหรือพิมพ์ออก มามากเกินไป จะทำให้ความน่าเชื่อถือของธนบัตรนั้นๆลดลงด้วย

                  ทุนสำรองระหว่างประเทศเกิดขึ้นได้อย่างไร
ทุนสำรองระหว่างประเทศในรูปของทองคำ พันธบัตรรัฐบาลต่างชาติ และตราสารหนี้ทางการเงิน มาจากการที่ธนาคารกลางเข้าไปลงทุนหรือซื้อหาเอาไว้ ส่วนเงินตราต่างประเทศนั้นเกิดจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดหรือการเกิน ดุลการค้า (การส่งออกมากกว่าการนำเข้า) ซึ่งจะทำให้มีเงินตราต่างประเทศส่วนเกิน สุดท้ายเงินเหล่านั้นจะถูกแลกเปลี่ยนเป็นทอดๆ จนไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยในที่สุด

                   วิธีที่เราสามารถหาเงินตราต่างประเทสเข้าประเทศ ได้ง่ายที่สุดวิธีหนึ่งคือการท่องเที่ยว เนื่องจากประเทศไทยของเราใช้เงินบาทเป็นสกุลเงินหลัก (เรียกได้ว่าใช้สกุลเดียว) ดังนั้นนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยจะต้องนำเงินตราประเทศของ ตนมาแลกเป็นเงินบาทเพื่อจะใช้จ่ายในประเทศไทย เงินที่นักท่องเที่ยวนำมาแลกนั้นสุดท้ายก็จะถูกแลกเปลี่ยนจนถึงมือของธนาคาร กลางในที่สุดดังได้กล่าวแล้วข้างต้น

                   เงินตราต่างประเทศนั้นจะถูกใช้ ในการชำระหนี้ ชำระค่าสินค้าและบริการที่ซื้อหามาด้วยสกุลเงินต่างประเทศนั่นเอง ตัวอย่างเช่นน้ำมัน เครื่องจักรอุตสาหกรรม สินค้าต้นทุน และอื่นๆ ดังนั้นถ้าเรามีเงินตราต่างประเทศน้อยเกินไป ก็จะทำให้การซื้อสินค้าจากต่างประเทศทำได้ลำบาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและผู้ที่จำเป็นต้องใช้สินค้านำเข้ามาก

                   ***สำหรับประเทศไทยของเรานั้น ทุนสำรองระหว่างประเทศได้รับการดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเก็บรักษาทุนสำรองเอาไว้ในรูปของเงินตราต่างประเทศ ทองคำ ตราสารหนี้ที่มีความมั่นคงสูง เงินฝากระยะสั้นในธนาคารพานิชย์

ตารางแสดงอันดับประเทศที่มีทุนสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดในโลก

Rank

Country

Foreign-exchange reserves

(Millions of  US $)

Figures as of

1 China 3,285,090 Sep  2012
2 Japan 1,270,848 Nov  2012
Eurozone** 903,027 Aug  2012
3 Saudi Arabia 621,490 Sep   2012
4 Russia 528,236 Nov  2012
5 Switzerland 526,226 Nov  2012

ตารางแสดงอันดับประเทศที่มีทุนสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดในอาเซียน

Rank

(word rank)

Country

Foreign-exchange reserves

(Millions of  US $)

Figures as of

1 (11) Singapore 254,217 Oct  2012
2 (15) Thailand 181,627 Nov 2012
3 (18) Malaysia 138,306 Oct  2012
4 (21) Indonesia 110,297 Oct  2012
5 (25) Philippines 84,250 Dec  2012
6 (59) Vietnam 16,760 Dec  2011
7 (80) Cambodia 4,113 Dec  2012
8 (81) Myanmar 3,762 Dec  2012
9 (95) Laos 757 Dec  2011
10 Brunei

_________________________________________________________________________________________

กราฟแสดงทุนสำรองระหว่างประเทศของประเทศในอาเซียน

13

ตารางแสดงทุนสำรองระหว่างประเทศของประเทศในอาเซียนตั่งแต่ปี 2004 -2012

19

ข้อมูลจาก

http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_foreign-exchange_reserves

http://www.indexmundi.com/g/g.aspx

http://guru.sanook.com

Posted on ม.ค. 12, 2013, in General and tagged , , , . Bookmark the permalink. ใส่ความเห็น.

ใส่ความเห็น